วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การกำเนิดปิโตรเลียม
เมื่อหลายล้านปี ทะเละต็มไปด้วยสัตว์ และพืชเล็ก ๆ จำพวกจุลินทรีย์ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจำนวนมหาศาล ก็จะตกลงสู่ก้นทะเล และถูกทับถมด้วยโคลน และทรายแม่น้ำ จะพัดพากรวดทราย และโคลนสู่ทะเล ปีละหลายแสนตัน ซึ่งกรวด ทราย และโคลน จะทับถมสัตว์ และพืชสลับทับซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา นับเป็นล้านปีการทับถมของชั้นตะกอนต่าง ๆ มากขึ้น จะหนานับร้อยฟุต ทำให้เพิ่มน้ำหนักความกดและบีบอัด จนทำให้ทราย และชั้นโคลน กลายเป็นหินทราย และหินดินดาน ตลอดจนเกิดกลั่นสลายตัว ของสัตว์ และพืชทะเล เป็นน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และก๊าญธรรมชาติ มีความเบา จะเคลื่อนย้าย ไปกักเก็บอยู่ในชั้นหินเนื้อพรุน เฉพาะบริเวณที่สูงของโครงสร้างแต่ละแห่ง และจะถูกกักไว้ด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ที่ปิดทับอยู่

นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่มีแนวความคิดว่า ปิโตรเลียมน่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากสารอินทรีย์ ทำให้การศึกษามุ่งหากำเนิดของน้ำมันที่เป็นแบบอย่างหรือตัวแทนของน้ำมันส่วนใหญ่ที่พบและผลิตในอุตสาหกรรม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแหล่งปิโตรเลียมส่วนใหญ่ในโลกมักมีความเกี่ยวข้องกับหินตะกอนที่สะสมในทะเล แต่ในประเทศไทยพบทั้งในหินตะกอนที่สะสมในทะเลและไม่ได้สะสมในทะเล เนื่องจากหินตะกอนจะมีส่วนประกอบของสารอินทรีย์มากกว่าหินประเภทอื่นๆ พวกสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทจะมีสารอินทรีย์แตกต่างกันเช่น

Marine&Lacustrine Plankton ประกอบด้วย โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ถึง 50% และ Lipid 25%
Bacteria ประกอบด้วย โปรตีนและ Lipids
Landplant ประกอบด้วย Cellulose, Lignin, Waxes, Resin และ Lipid เล็กน้อย
เมื่อสิ่งมีชีวิตสิ้นสภาพและถูกพัดพามาพร้อมกับตะกอนลงสู่แอ่งสะสมตะกอน บางส่วนของซากสิ่งมีชีวิตถูกทำลาย โดยขบวนการเติมออกซิเจน(Oxidation) บ้างก็ถูกทำลาย และเป็นอาหารจุลินทรีย์ ส่วนที่เหลือจะถูก preserved ได้ต้องอาศัยการตกทับถมอย่างรวดเร็วและลักษณะของตะกอนที่ปิดทับ ซึ่งต้องการสภาพแวดล้อมแบบไม่มีออกซิเจน(Reducing)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น