แก๊ส X ปริมาตร V1 และ ความดัน P1 ถ้าลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง แก๊สจะมีความดันเท่ากับ P2 แต่ถ้าลดปริมาตร
ลงเหลือ 1/6 ของปริมาตร V1 แก๊สจะมีความดันเท่ากับ P3 กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดที่อุณหภูมิ
และมวลของแก๊สคงที่ ความสัมพันธ์ระหว่าง P1 P2 และ P3 ในข้อใดถูกต้อง
ก. P1/P2 = P3/2 ค. P1 x P2 = P3/6
ข. P1/P3 = P2/6 ง. P1 x P3 = 3P2/2
การเปรียบเทียบสมบัติของแก๊ส He H2 และ CH4 ในข้อใดถูก
ก. เมื่อมวลเท่ากัน จะมีปริมาตรเท่ากันที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
ข. ที่อุณหภูมิเดียวกัน เมื่อมวลและปริมาตรเท่ากัน แก๊ส H2 จะมีความดันมากที่สุด
ค. ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แก๊สทั้ง 3 จะมีอัตราการแพร่เท่ากัน
ง. เมื่อนำแก๊สผสมทั้ง 3 มาลดอุณหภูมิ แก๊ส CH4 จะควบแน่นเป็นลำดับสุดท้าย
โลหะ A ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก แต่ B และ C ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เมื่อนำ
โลหะ B จุ่มลงในสารละลายที่มีไอออน C+ ได้โลหะ C เกาะบนโลหะ B ข้อใดถูก
1. ความสามารถในการสูญเสียอิเล็กตรอน A > B > C
2. โลหะ C ช่วยป้องกันการผุกร่อนของโลหะ A ได้
3. เมื่อต่อครึ่งเซลล์ B/B+ และ C/C+ เข้าด้วยกันโลหะ C จะเป็นขั้วแคโทด
4. เมื่อนำโลหะ A จุ่มลงในสารละลาย B+ จะได้โลหะ B เกาะบนแท่งโลหะ A
ก. 1 2 และ 4
ข. 2 3 และ 4
ค. 1 3 และ 4
ง. 1 2 และ 3
การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี เมื่อใช้ตัวทำละลาย X สาร A B และ C มีค่า Rf เท่ากับ 0.2 0.3 และ 0.6
ตามลำดับ แต่เมื่อใช้ตัวทำละลายผสมของ X และ Y ในอัตราส่วน 1 : 1 ปรากฏว่าค่า Rf ของสาร A B
และ C เท่ากับ 0.4 0.25 และ 0.35 ตามลำดับ ข้อสรุปในข้อใดสอดคล้องกับข้อมูล
ก. สาร A ถูกดูดซับได้มากกว่าสาร B และสาร B ถูกดูดซับได้ดีกว่าสาร C
ข. สาร A ถูกดูดซับได้ดีในตัวทำละลาย X ส่วน B และ C ถูกดูดซับได้ดีในตัวทำละลาย Y
ค. การแยกสาร A B และ C ออกจากกัน ใช้ตัวทำละลาย X ได้ผลดีกว่าใช้ตัวทำละลายผสมของ X และ Y
ง. ควรใช้ตัวทำละลาย Y แยกสาร A และ B ออกจากกัน แต่ไม่ควรใช้แยกสาร B และ C ออกจากกัน
สารละลายที่มี HNO3 4 x 10−2 mol ใน 400 cm3 ผสมกับสารละลาย KOH pH เท่ากับ 12 ปริมาตร
600 cm3 ถ้าต้องการทำให้สารละลายผสมมี pH เท่ากับ 7 จะต้องเติมสารละลายในข้อใด
ก. Ca(OH)2 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 85 cm3
ข. NaOH 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 150 cm3
ค. HCl 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 150 cm3
ง. H2SO4 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 85 cm3
สารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A มีสูตร ACl3 เป็นของเหลวที่ไม่ละลายน้ำ สมบัติของธาตุ A ข้อใดผิด
ก. สารประกอบออกไซด์ของธาตุ A มีสูตร A2O5
ข. สารประกอบออกไซด์ของธาตุ A ละลายน้ำได้สารละลายที่เป็นเบส
ค. พันธะระหว่างอะตอมของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A เป็นพันธะโคเวเลนต์
ง. ผลต่างระหว่าง IE5 และ IE6 ของธาตุ A มีค่ามากกว่าผลต่างระหว่าง IE อื่นสองระดับที่อยู่ติดกัน
นำกรดอินทรีย์ A มาทำปฏิกิริยาพอดีกับเอทานอล 9.2 กรัม ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเอสเทอร์ B 26 กรัม และน้ำ
จงหาจำนวนไอโซเมอร์ที่เป็นไปได้ของกรดอินทรีย์ A
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5
ข้อใดถูก
1) การเกิดพันธะเคมีเป็นกระบวนการคายพลังงาน
2) โมเลกุลเกิดขึ้นเมื่ออะตอมอยู่ใกล้กันที่สุด
3) ในการเกิดพันธะเคมีจะมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งเสมอ
4) เมื่อสลายโมเลกุลเป็นอะตอมเดี่ยว พลังงานของอะตอมทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบรวมกันจะสูงกว่า
พลังงานของโมเลกุลเดิม
ก. 1 และ 3
ข. 1 และ 4
ค. 2 และ 3
ง. 2 และ 4
ข้อใดผิด
ก. แก๊สมีเทนเป็นสารตั้งต้นชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเตรียมปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตและปุ๋ยยูเรีย
ข. ขั้นตอนหนึ่งในการถลุงแร่คือการใช้ตัวรีดิวซ์ เช่น คาร์บอนในถ่านหินเปลี่ยนโลหะในสินแร่ให้เป็น
โลหะอิสระก่อนทำให้บริสุทธิ์ต่อไป
ค. การผลิตเซอร์โคเนียมใช้สารละลายผสมของกรดไฮโดรฟลูออริกและกรดซัลฟิวริกสกัดเซอร์โคเนียม
ออกจากสินแร่เซอร์คอนก่อน
ง. เรเดียมบริสุทธิ์ได้จากการแยกสลายสารประกอบเรเดียมแฮไลด์ด้วยไฟฟ้าโดยใช้ปรอทเป็นขั้วไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น