วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปัญหาวิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน

สถาบันครอบครัวของสังคมไทยปัจจุบันถึงการณ์ "วิกฤติ" สถาบันครอบครัวในสังคมไทยปัจจุบันกำลังอ่อนแออย่างรุนแรง
และกำลังก้าวเข้าสู่วิกฤติ จากปัญหาการหย่าร้างของคนไทยสูงขึ้นทุกปี และมีแน้วโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น

ปัจจุบันพ่อแม่สูญเสียความมั่นใจในการเลี้ยงลูกและในความมั่นคงของครอบครัว เกรงว่าตนเองจะเลี้ยงลูกให้มีความสุขไม่ได้บ้าง
สูญเสียความภูมิใจในตนเองบ้าง ท้อแท้หมดหวังว่าชีวิตจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจบ้าง
และที่สำคัญที่สุดการสูญเสียเหล่านี้ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีระดับความเครียดที่เกิดจากปัญหาครอบครัวมากขึ้น
ส่วนปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญมากที่สุด คือ

1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การหารายได้ให้พอแก่ค่าใช้จ่าย ทำให้มีเวลาดูลูกน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่า พ่อแม่มากกว่า
ร้อยละ 80 ไม่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิพิเศษใด ๆ จากที่ทำงาน และภาครัฐบาล ทำให้แม่มักจะมีปัญหาซึมเศร้า
หรืออาจจะเป็นคนจู้จี่ขี้บ่นในอัตราที่สูงมากขึ้น ขณะเดียวกับที่พ่อมักจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมติดเหล้า-บุหรี่ ขาดความใกล้ชิดกับ
"ลูก" อาจจะส่งผลถึง "สุขภาพจิตของเด็ก" และเด็กอาจเติบโตมาอย่างขาดความอบอุ่น กลายเป็นคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ขาดคุณธรรมจริยธรรม เพราะเด็กที่กระทำผิดมากกว่าครึ่งมาจากครอบครัวที่มีสภาพปัญหานี้ค่อนข้างเยอะมาก

2. ปัญหาการเข้าใจรู้ทันความคิดใหม่ ๆ ของลูก ๆ ในเชิงคุณภาพเมื่อเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวพ่อเลี้ยงลูก
กับครอบครัวแม่เลี้ยงลูก จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ หากเป็นครอบครัวที่มี "แม่เลี้ยงลูก" พบว่า
ผู้หญิงมักจะมีความกังวลใจเกี่ยวกับการหารายได้ และมีปัญหาทางอารมณ์ได้ง่ายกว่า เพราะเป็นเพศที่อ่อนไหว
ที่สำคัญ คือ พบว่าภาวะของแม่ในครอบครัวเลี้ยงลูก จากภาวะครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง
หรือจากการเสียชีวิตของสามีจะมีปัญหาซึมเศร้าในอัตราที่สูงขึ้น และเป็นปัญหาที่น่าห่วงของครอบครัวแม่เลี้ยงลูกโดยลำพังนี่มากโข
แต่ก็ยังมีข้อได้เปรียบคือความเป็นผู้หญิงจะมีสัญชาตญาณของความเป็นแม่ที่ถูกปลูกฝังในเรื่องของการอบรมเลี้ยงดูลูก
จึงทำให้มีความใกล้ชิดกับลูกได้มากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับ ครอบครัวที่มี "พ่อเลี้ยงลูก" ปัญหาที่พบ คือ ลูกขาดความใกล้ชิดกับพ่อเนื่องจากพ่ออาจใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับงานเพื่อทำมา หาเลี้ยงครอบครัว
จึงทำให้ขาดเวลาในการอยู่กับลูก และในแง่ของปัญหาทางอารมณ์บางคนก็อาจจะแสดงออกมาในรูปแบบของความหงุดหงิด โมโห
พฤติกรรม เช่นนี้อาจทำให้ลูกห่างเหินได้ง่าย พ่อบางคนมีพฤติกรรมติดเหล้า ติดบุหรี่ จึงเป็นปัญหาที่น่ากังวลเพราะเด็กอาจจะซึมซับเลียนแบบในจุดนี้ได้

แต่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่งสำหรับครอบครัวที่มีพ่อเลี้ยงลูก คือ การเลี้ยงดูลูกผู้หญิง พ่อบางคนนิ่งเฉย เพราะไม่รู้จะต้องเลี้ยงดูลูกผู้หญิงอย่างไรดี
ซึ่งอาจจะทำให้เด็ก รู้สึกว่าทำไมพ่อไม่เข้าใจ หรือไม่สนใจ กรณีนี้พ่อควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง อย่าให้สิ่งอื่นใดมาทำลายความเชื่อมั่นในความเป็นพ่อได้
และที่สำคัญ ทักษะการเข้าใจกันและกันจะช่วยสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัวได้ ควรความหนักแน่นเป็นต้นแบบให้กับลูก ซึ่งจะทำให้เด็กมีวุฒิภาวะและโตเร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขในระดับบุคคล

สายใยสัมพันธ์รัก จากพ่อ ถึง ลูก : ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้พ่อควรจะบอกรักลูกมากขึ้น โอบกอดลูกเพื่อแสดงความรัก
การสื่อสารด้วยคำพูด และภาษากายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์พ่อลูกให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
เป็นวัคซีนใจที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดให้กับลูกจากปัญหาต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
และสังคมในปัจจุบัน พ่อมีเวลาให้ลูกและครอบครัวน้อยลง พ่อควรมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น
สามารถเป็นภูมิคุ้มกันและปกป้องอันตรายต่าง ๆ ได้

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขในระดับชุมชน

การปลูกฝังศีลธรรม จริยธรรม ให้กับลูก พ่อจำเป็นต้องมีช่วงเวลาที่สื่อสัมพันธ์กับลูก เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก
ซึ่งความหนักแน่นของพ่อจะทำให้ลูกเชื่อมั่นและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม โดยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
จำเป็นต้องสอนตามวัยของลูก เช่น ลูกที่ยังเล็กควรให้ความใกล้ชิดมากเป็นพิเศษ ส่วนลูกวัยรุ่น
ก็ต้องกระตุ้นให้ลูกฝึกคิด รับผิดชอบ แก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยมีพ่อเป็นที่ปรึกษา รับฟัง เข้าใจ
และยอมรับในทุกเรื่อง ขณะที่ต้องสอนลูกให้รู้ทันสื่อสมัยใหม่ พ่อต้องใช้วิธีการพูดคุยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน
ใช้ สื่อร่วมกัน ซึ่งถ้าสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ สื่อสมัยใหม่จะเข้ามาในรูปแบบใดก็ตามจะไม่สามารถทำร้ายลูกได้ ถ้าได้ภูมิคุ้มกันที่ดีจากพ่อแล้ว
และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขในระดับประเทศ

เคล็ดลับ 5 ข้อ ในการเลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีความสุข คือ

1. พ่อต้องรักแม่ของลูก ต้องรักกันมีความผูกพันกัน เพราะความสุขของพ่อแม่จะทำให้ลูกมีความสุขตามไปด้วย
2. คลุกคลีใกล้ชิด พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เทคนิคการพูดคุยที่จะช่วยเพิ่มความเก่งให้กับลูก คือ
สนใจตอบคำถามของลูก ใช้คำถามเพื่อส่งเสริมให้ลูกคิด เช่น ทำไม อย่างไร
3. มีเวลาให้เมื่อลูกมีปัญหา คอยรับฟังและให้กำลังใจลูก
4. จัดหาประสบการณ์ที่หลากหลายให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ลูกจะได้ค้นพบตนเองว่าชอบอะไร ถนัดอะไร และ
5. อย่าสอนด้วยการสั่ง แต่ควรใช้การขอความเห็นหรือหารือเพื่อกระตุ้นให้ลูกคิดแก้ปัญหา โดยเฉพาะในคุณพ่อที่มีลูกวัยรุ่น
ลูก ควรเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้าน ทำตัวเป็นเพื่อน และถ่ายทอดประสบการณ์ในชีวิตพ่อให้ลูกฟังบนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี
และจูงใจให้ลูกคิดตามโดยไม่ยัดเยียด สิ่งสำคัญ คือ ต้องยอมรับในตัวลูก มีเวลาใกล้ชิด และพูดคุยกันบ่อยๆ

ครอบครัว ถือ เป็นสถาบันที่สำคัญของสังคมไทย การส่งเสริมให้ครอบครัวได้รู้จักสร้างความรักให้แก่กันทั้งทางกายและจิตใจ
จะเป็นพลังสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งมั่นคงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น