วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สารชีวโมเลกุล

สารชีวโมเลกุล

อาหาร คือ สารที่เข้าสู่ร่างกายไปแล้วจะทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโต ให้พลังงานเพื่อความแข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
อาหารประเภทต่างๆ ที่รับประทานในแต่ละวัน จำแนกออกได้เป็นหมู่ใหญ่ๆ คือ

หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และน้ำตาล
หมู่ที่ 3 ผักใบเขียว และพืชผักอื่น ๆ
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช
สารอาหาร (Nutrient) คือ สารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร แบ่งตามหลักโภชนาการได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต มัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ
ปริมาณสารอาหารประเภทต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย ดังนี้

สารอาหาร

ร้อยละในร่างกาย

น้ำ

65

โปรตีน

20

ไขมัน

10

คาร์โบไฮเดรต

น้อยกว่า 1

เกลือแร่

4

(ที่มา : เสาวนีย์ จักรพิทักษ์, 2532 : 43 )

สารชีวโมเลกุล (Biomolicules) หมายถึง สารประกอบที่ทำหน้าที่ 2 อย่างในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต คือ เป็นโครงสร้างและสารทำหน้าที่ของเซลล์ สารเหล่านี้ได้แก่ น้ำ เกลือแร่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิปิด และกรดนิวคลีอิก อาจรวมถึงก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย



คาร์โบไฮเดตร

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C H และ O อัตราส่วนโดยอะตอมของ H : O = 2 :1 เช่น C 3H 6O 3 C 6H 12O 6 (C 6H 10O 5) n โดยมีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หรือหมู่คาร์บอนิล (-CO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน

ประเภทของคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตสามารถแบงตามโครงสร้างออกเปน 3 ประเภท คือ
1. มอนอแซ็กคาไรด (Monosaccharides) หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว มีสูตรทั่วไปเปน C n H2n O n ซึ่งจะมี 2 ประเภทคือ

- น้ำตาลอัลโดส (aldoses) เปนน้ำตาลที่มีหมูคารบอกซาลดีไฮด ( ) เชน กลูโคส กาแลกโตส และไรโบส เปนตน
- น้ำตาลคีโตส (ketoses) เปนน้ำตาลที่มีหมูคารบอนิล ( ) ไ ดแก ฟรุกโตส เปนตน



2. ไดแซ็กคาไรด (Disaccharides) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่ แลคโตส มอลโตส และซูโครส ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ Monosacharide 2 โมเลกุล โดยกําจัดน้ำออกไป 1 โมเลกุล เชน ซูโครส (C12H22O11) เกิดจากกลูโคสรวมตัวกับฟรุกโตส ดังภาพ




3 . พอลีแซ็กคาไรด (Polysaccharides) เช่น แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน (ดังภาพข้างล่าง) เกิดจาก Monosacharide หลายๆ โมเลกุลจำนวนมากมายต่อรวมกันเป็นพอลิเมอร์ ดังสมการ

n C6H12O6 ---------------> ( C6H10O5 )n + n H 2O

Polysacharide แบ่งตามแหล่งที่พบได้ดังนี้

- จากพืช ได้แก่ แปง (Starch) เซลลูโลส (Cellulose) และอะไมโลส (Amylose)
- จากสัตว ได้แก่ ไกลโคเจน (Glycogen)







สมบัติของคาร์โบไฮเดรต

1. มอนอแซ็กคาไรด (Monosaccharides) มีสถานะเป็นของแข็ง ละลายน้ำ มีรสหวาน ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์เกิดตะกอนสีแดงอิฐ (Cu 2O)
2. ไดแซ็กคาไรด (Disaccharides)มีสถานะเป็นของแข็ง ละลายน้ำ มีรสหวาน สามารถเกิดการไฮโดรลิซิสได้ Monosaccharide 2 โมเลกุล และทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์เกิดตะกอนสีแดงอิฐ (Cu 2O) ยกเว้นซูโครส
3. พอลีแซ็กคาไรด (Polysaccharides) มี สถานะเป็นของแข็ง ไม่ละลายน้ำ ไม่มีรสหวาน เกิดการไฮโดรลิซิสได้ Monosaccharide ที่เป็นกลูโคสจำนวนมากมาย

การทดสอบคาร์โบไฮเดรต

1. มอนอแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งเป็น สารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) เมื่อต้มกับสารละลายเบเนดิกต์ (Cu 2+/ OH -)



สารละลายเบเนดิกต์ (Benedict solution) เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSO 4 Na 2CO 3 และโซเดียมซิเตรด เป็น Cu 2+/ OH - มีสีน้ำเงิน

2. พอลีแซ็กคาไรด์
2.1 แปง : เติมสารละลายไอโอดีนจะได้ตะกอนสีน้ำเงิน แตไมใหตะกอนสีแดงกับสารละลายเบเนดิกต




2.2 น้ำตาลโมเลกุลใหญ เช่น แปง และสำลี ( เซลลูโลส) เมื่อนำมาเติมสารละลายเบเนดิกซ จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แตถาเติมกรดแลวนำมาตมจะเกิดปฎิกริยาไฮโดรลิซิส ซึ่งสามารถเกิดตะกอนสีแดงอิฐกับสารละลายเบเนดิกซได

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
เมื่อรับประทานพวกแปงในน้ำลายจะมีเอนไซมอะไมเลส (Amylase) จะเปลี่ยนเปนน้ำตาลที่รางกายนำไปใชไดถามีเหลือจะเก็บสะสมไวที่ตับหรือกลามเนื้อ
การหมัก (Fermentation) คือ กระบวนการเปลี่ยนสารอินทรีย์ในการที่ไม่ใช้ O 2 โดยมีสิ่งมีชีวิต เช่น ยีสต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้สารผลิตภัณฑ์ เช่น แอลกอฮอล์ ดังสมการ






ลิพิด

ลิปิด (Lipid) คือ สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ เป็นสารที่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นโมเลกุลโควาเลนต์ไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ตัวอย่าง ไขมัน น้ำมัน แว็กซ์ ( wax) สเตอรอยด์ เป็นต้น

กรดไขมัน (Fatty acid)
กรดไขมัน เปนกรดที่เกิดในธรรมชาติจากการไฮโดรลิซิสไตรกลีเซอไรด ( เปนปฏิกิริยายอนกลับของปฏิกิริยาเอสเทอริฟเคชัน) กรดไขมันที่พบโดยทั่วไปจะมีจํานวนของคารบอนเปนเลขคู ที่พบมาก คือ 16 หรือ 18 อะตอม และจะ ต่อกันเป็นสายยาวไม่ค่อยพบแตกกิ่งก้านสาขา และขดเป็นวงปิด กรดไขมัน แบงออกเปน 2 ประเภทใหญๆ คือ
1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) หมูแอลคิลจะมีแตพันธะเดี่ยว เชน กรดไมริสติก กรดปาลมิติก กรดสเตียริก
2. กรดไขมันไมอิ่มตัว (unsaturated fatty acids) หมูแอลคิลจะมีแตพันธะคูอยูดวย เชน กรดปาลมิโตเลอิก กรดโอเลอิก กรดลิโนเลอิก กรดลิโนเลนิก



ภาพแสดงความแตกต่างของโครงสร้งระหว่าง กรดไขมันอิ่มตัวกับกรดไขมันไมอิ่มตัว

สมบัติของกรดไขมัน
กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C 12 - C 18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรกบิวทาโนอิก C 3C 7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
ไขมันและน้ำมัน
ไขมันและน้ำมัน (Fat and oil) คือ สารอินทรีย์ประเภทลิปิดชนิดหนึ่ง มีหมู่ฟังก์ชันเหมือนเอสเทอร์ จึงจัดเป็นสารประเภทเอสเทอร์ชนิดหนึ่งที่มีโมเลกุลขนาดใหญ พบทั้งในพืชและสัตว ซึ่งมีสูตรทั่วไปดังนี้



การเตรียม
เกิดจากกรดอินทรียที่เรียกว่ากรดไขมันรวมกับอัลกอฮอลทีมี -OH 3 หมู ที่เรียกวา กรีเซอรอล จะไดสารที่เรียกวา กลีเซอไรด์ (Glyceride) หรือกลีเซอริลเอสเทอร (Glyceryl Ester) ดังสมการ



ไขมันเป็นของแข็งที่มักพบในสัตว์ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว มากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ไขวัว ไขควาย ส่วนน้ำมันเป็นของเหลวที่มักพบในพืชประกอบด้วยกรด ไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก ซึ่งไขมันมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมัน ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีน้ำ เช่น เบนซีน และไขมันและน้ำมันเสียจะเกิดกลิ่นเหม็นหืน ซึ่งเกิดจาก พันธะคูในกรดไขมัน ไขมันหรือน้ำมันที่ไมอิ่มตัวจะถูก ออกซิไดซไดดวยออกซิเจน ในอากาศ หรืออาจเกิด การไฮโดรลิซิสกับน้ำ โดยมีจุลินทรียเปนตัวเรงปฏิกิริยา ทําใหไดกรดไขมันโมเลกุลเล็กที่ระเหยงายมีกลิ่นเหม็น หืน ดังสมการ


การป้องกัน : เติมสารกันเหม็นหืน (Antioxidiant) เช่น วิตามิน E วิตามิน C สาร BHT

ปฏิกิริยาสะปอนนิฟเคชัน (sponification)
เป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสไขมันและน้ำมันด้วยเบส เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากไขมันและน้ำมันกับด่าง เกิดเกลือของกรดไขมัน (RCOO -Na +) ซึ่งก็คือ สบู่ กับกลีเซอรอล ดังนี้




การตรวจหาปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันและน้ำมัน
ไขมันและน้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (C = C) ทำปฏิกิริยากับสารละลาย Br 2 หรือ I 2 ได้เกิดปฏิกิริยาการเติมตรงบริเวณ C กับ C ที่จับกันด้วยพันธะคู่ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันและน้ำมันนั้นถ้าไขมันและน้ำมันชนิดใดสามารถฟอกจางสีของสารละลาย I 2 มาก แสดงว่าไขมันและน้ำมันนั้น ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวปริมาณมาก



สบู่ (Soap)
สบู่ คือ เกลือของกรดไขมัน สูตรทั่วไปคือ



สบู่ละลายน้ำแตกตัวให้ไอออนบวก และไอออนลบส่วนที่เป็นไอออนลบจะเป็นตัวที่ใช้ชำระล้าง สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายได้ สามารถละลายในตัวทำละลายมีขั้วและไม่มีขั้วได้ เพราะไอออนลบของสบู่ประกอบ ด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนย่อยดังนี้



สบู่ที่ดีควรมีจำนวน C อะตอมในหมู่ R พอเหมาะ เป็นสบู่ที่ละลายน้ำได้ดี แต่ถ้ามีจำนวน C อะตอมมากเกินไปละลายน้ำได้ดี



สบู่สามารถใช้ทดสอบความกระด้างของน้ำได้
น้ำกระด้าง : เป็นน้ำที่ประกอบด้วย Fe 2+, Mg 2+ และ Ca 2+ ของ HCO - 3, Cl - และ SO 2- 4




เราไมนิยมใชสบูซักผาเพราะในน้ำกระดางจะมี แคลเซียม และ แมกนีเซียม อยู เมื่อทําปฏิกิริยากับสบูจะเกิดเปนเกลือแคลเซียม ( ไคลสบู) ยอนกลับมาติดเสื้อผาเราได้
เนื่องจากสบู่จะเกิดตะกอนไอออนในน้ำกระด้างทำให้เกิดการสิ้นเปลืองในการใช้สบู่ จึงได้มี การสังเคราะห์สารอื่นใช้ชำระล้างซักฟอกได้เช่นเดียวกับสบู่ สารสังเคราะห์นั้นก็คือ ผงซักฟอก ซึ่งไม่ ตกตะกอนในน้ำกระด้าง

การละลายน้ำและการชำระล้างของสบู่
เมื่อสบู่ละลายน้ำจะแตกเป็นไอออน ไอออนบวกของโลหะจะถูกน้ำล้อมรอบ เกิดแรงดึงดูดระหว่างไอออนกับน้ำ เรียกว่าไฮเดรตชัน ส่วนไอออนลบของสบู่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นคาร์บอกซิเลต (- COO -) เป็นส่วนที่มีขั้ว จะยึดกับน้ำโดยมีโมเลกุลน้ำล้อมรอบ และส่วนที่ไม่มีขั้วเป็นกลุ่มไฮโดรคาร์บอนจะหันเข้าหากัน แล้วจับกันเป็นกลุ่มก้อน เรียกว่า ไมเซลล์ (Micell) ดังภาพ



ผงซักฟอก
ผงซักฟอก (detergents) คือ เกลือของกรดซัลโฟนิก มีสมบัติชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายได้เช่นเดียวกับสบู่
เปนสารซักลางที่ผลิตขึ้นมาใชแทนสบู ซึ่ งเป็นเกลือโซเดียมซัล-โฟเนตของไฮโดรคารบอน ผงซักฟอกมีขอดีเหนือสบู คือ สามารถทำงานไดดี แม ในน้ำกระดางที่มีไอออน Ca 2+ Fe 2+ Fe 3+ และ Mg 2+ ถาหมูแอลคิลเป็น เสนตรง (LBS : Linear Alkylbenzene Sulfonate) จะถูกยอยดวยจุลินทรียไดดี เกิดมลพิษนอย แตถาหมูแอลคิลเปน โซกิ่ง จุลินทรียจะยอยไดยาก

สูตรทั่วไปของผงซักฟอก เป็นดังนี้



ส่วนประกอบของผงซักฟอก
1. บิลเดอร์ ฟอสเฟต ปนอยู่ประมาณ 30-50% มีประโยชน์และหน้าที่ดังนี้
- ทำให้น้ำมีสภาพเป็นเบส เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายได้ดี
- ฟอสเฟตจะรวมตัวกับไอออนของโลหะในน้ำกระด้างเป็นสารเชิงซ้อน ทำให้ไอออนของโลหะในน้ำกระด้างไม่สามารถขัดขวางการกำจัดสิ่งสกปรกของผงซักฟอกได้
2. สารลดแรงตึงผิว เป็นสารที่ใช้ชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายได้ ได้แก่ เกลือโซเดียมแอลคิล-ซัลโฟเนต โซเดียมแอลคิลเบนซิลซัลโฟเนต ผสมอยู่ประมาณ 30%



Sodium tripolyphosphate - STPP



ผลเสียที่เกิดจากการใช้ผงซักฟอก ทำให้เกิดมลภาวะของน้ำ
ผลเสียที่เกิดจากการใช้ผงซักฟอก ทำให้เกิดมลภาวะของน้ำ ดังนี้
1. สารพวกฟอสเฟตเป็นปุ๋ยจากผงซักฟอกเมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโต รวดเร็ว ทำให้ขวางทางคมนาคมทางน้ำ ทำลายทัศนียภาพ ทำให้ O 2 ละลายน้ำไม่ได้ สิ่งมีชีวิต ขาด O 2 ตายได้ และพืชน้ำเกิดมากอาจจะตาย เน่า ทำให้น้ำเสีย
2. ผงซักฟอกชนิด C ใน R แตกกิ่งก้านสาขาจุลินทรีย์ในน้ำสลายไม่ได้ ทำให้ตกค้างในน้ำ เมื่อ เข้าสู่ร่างกายของคนจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้



โปรตีนและกรดอะมิโน

โปรตีน ( Protien) คือ สารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C H O N เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ เช่น S P Fe Zn ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน โปรตีน เป็นสารพวกพอลิเมอร์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากมาย
กรดอะมิโน ( Amino Acid) คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชันสูตรทั่วไปดังนี้





ชนิดกรดอะมิโน

กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด จำแนกตามความจำเป็นแก่ร่างกาย คือ
1. กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย (Essential amino acid ) ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ หรือสังเคราะห์ได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดอะมิโนเหล่านี้ ได้แก่ อาร์จินีน ( Arginine ) ฮีสทิดีน (Histidine ) ไอโซลิวซีน (Isoleucine ) ลิวซีน (Leucine ) ไลซีน (Lysine ) เมทิโอนีน (Methionine ) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine ) เทรโอนีน (Threonine ) ทริปโทเฟน (Tryptophan ) และวาลีน (Valine ) เด็กต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย 9 ตัวยกเว้นอาร์จินีน สำหรับผู้ใหญ่ต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย 8 ชนิด ยกเว้น อาร์จินีน และฮีสทิดีน
2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นแก่ร่างกาย ( Nonessential amino acid ) ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายไม่จำเป็นต้อง ได้รับจากอาหาร คือ อาจสังเคราะห์ขึ้นจากสารประกอบพวกไนโตรเจน หรือจากกรดอะมิโน ที่จำเป็นแก่ร่างกาย หรือจากไขมันหรือจากคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนพวกนี้ได้แก่ กรดกลูแทมิก ไกลซีน ซีสทีน ไทโรซีน เป็นต้น ในเรื่องนี้มักมีคนเข้าใจผิดว่ากรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นแก่ร่างกาย เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ ความจริงนั้นร่างกายต้องใช้กรดอะมิโนทั้งสองพวกในการสร้างโปรตีน แต่ที่เราเรียกว่าเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นนั้นเพราะเราคิดในแง่ที่ว่าร่างกายสร้างเองได้เพียงพอ จากการวิเคราะห์พบว่าโปรตีนในเซลล์ และเนื้อเยื่อของร่างกายมีกรดอะมิโนพวกนี้อยู่ร้อยละ 40

สมบัติของกรดอะมิโน
1. สถานะ ของแข็ง ไม่มีสี
2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์
3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 0C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน
4. ความเป็นกรด- เบส Amphoteric substance

การเกิดพันธะเพปไทด์
พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ( ) ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH 2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง ดังภาพสมการ





… สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์

… สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์

… สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เราเรียกพอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

… อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน

… พวกเพปไทด์ที่เป็นโมเลกุลเปิดไม่ดูดเป็นวง จะหาจำนวนพันธะเพปไทด์ได้ดังนี้

ปัญหาวิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน

สถาบันครอบครัวของสังคมไทยปัจจุบันถึงการณ์ "วิกฤติ" สถาบันครอบครัวในสังคมไทยปัจจุบันกำลังอ่อนแออย่างรุนแรง
และกำลังก้าวเข้าสู่วิกฤติ จากปัญหาการหย่าร้างของคนไทยสูงขึ้นทุกปี และมีแน้วโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น

ปัจจุบันพ่อแม่สูญเสียความมั่นใจในการเลี้ยงลูกและในความมั่นคงของครอบครัว เกรงว่าตนเองจะเลี้ยงลูกให้มีความสุขไม่ได้บ้าง
สูญเสียความภูมิใจในตนเองบ้าง ท้อแท้หมดหวังว่าชีวิตจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจบ้าง
และที่สำคัญที่สุดการสูญเสียเหล่านี้ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีระดับความเครียดที่เกิดจากปัญหาครอบครัวมากขึ้น
ส่วนปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญมากที่สุด คือ

1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การหารายได้ให้พอแก่ค่าใช้จ่าย ทำให้มีเวลาดูลูกน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่า พ่อแม่มากกว่า
ร้อยละ 80 ไม่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิพิเศษใด ๆ จากที่ทำงาน และภาครัฐบาล ทำให้แม่มักจะมีปัญหาซึมเศร้า
หรืออาจจะเป็นคนจู้จี่ขี้บ่นในอัตราที่สูงมากขึ้น ขณะเดียวกับที่พ่อมักจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมติดเหล้า-บุหรี่ ขาดความใกล้ชิดกับ
"ลูก" อาจจะส่งผลถึง "สุขภาพจิตของเด็ก" และเด็กอาจเติบโตมาอย่างขาดความอบอุ่น กลายเป็นคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ขาดคุณธรรมจริยธรรม เพราะเด็กที่กระทำผิดมากกว่าครึ่งมาจากครอบครัวที่มีสภาพปัญหานี้ค่อนข้างเยอะมาก

2. ปัญหาการเข้าใจรู้ทันความคิดใหม่ ๆ ของลูก ๆ ในเชิงคุณภาพเมื่อเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวพ่อเลี้ยงลูก
กับครอบครัวแม่เลี้ยงลูก จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ หากเป็นครอบครัวที่มี "แม่เลี้ยงลูก" พบว่า
ผู้หญิงมักจะมีความกังวลใจเกี่ยวกับการหารายได้ และมีปัญหาทางอารมณ์ได้ง่ายกว่า เพราะเป็นเพศที่อ่อนไหว
ที่สำคัญ คือ พบว่าภาวะของแม่ในครอบครัวเลี้ยงลูก จากภาวะครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง
หรือจากการเสียชีวิตของสามีจะมีปัญหาซึมเศร้าในอัตราที่สูงขึ้น และเป็นปัญหาที่น่าห่วงของครอบครัวแม่เลี้ยงลูกโดยลำพังนี่มากโข
แต่ก็ยังมีข้อได้เปรียบคือความเป็นผู้หญิงจะมีสัญชาตญาณของความเป็นแม่ที่ถูกปลูกฝังในเรื่องของการอบรมเลี้ยงดูลูก
จึงทำให้มีความใกล้ชิดกับลูกได้มากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับ ครอบครัวที่มี "พ่อเลี้ยงลูก" ปัญหาที่พบ คือ ลูกขาดความใกล้ชิดกับพ่อเนื่องจากพ่ออาจใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับงานเพื่อทำมา หาเลี้ยงครอบครัว
จึงทำให้ขาดเวลาในการอยู่กับลูก และในแง่ของปัญหาทางอารมณ์บางคนก็อาจจะแสดงออกมาในรูปแบบของความหงุดหงิด โมโห
พฤติกรรม เช่นนี้อาจทำให้ลูกห่างเหินได้ง่าย พ่อบางคนมีพฤติกรรมติดเหล้า ติดบุหรี่ จึงเป็นปัญหาที่น่ากังวลเพราะเด็กอาจจะซึมซับเลียนแบบในจุดนี้ได้

แต่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่งสำหรับครอบครัวที่มีพ่อเลี้ยงลูก คือ การเลี้ยงดูลูกผู้หญิง พ่อบางคนนิ่งเฉย เพราะไม่รู้จะต้องเลี้ยงดูลูกผู้หญิงอย่างไรดี
ซึ่งอาจจะทำให้เด็ก รู้สึกว่าทำไมพ่อไม่เข้าใจ หรือไม่สนใจ กรณีนี้พ่อควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง อย่าให้สิ่งอื่นใดมาทำลายความเชื่อมั่นในความเป็นพ่อได้
และที่สำคัญ ทักษะการเข้าใจกันและกันจะช่วยสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัวได้ ควรความหนักแน่นเป็นต้นแบบให้กับลูก ซึ่งจะทำให้เด็กมีวุฒิภาวะและโตเร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขในระดับบุคคล

สายใยสัมพันธ์รัก จากพ่อ ถึง ลูก : ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้พ่อควรจะบอกรักลูกมากขึ้น โอบกอดลูกเพื่อแสดงความรัก
การสื่อสารด้วยคำพูด และภาษากายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์พ่อลูกให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
เป็นวัคซีนใจที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดให้กับลูกจากปัญหาต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
และสังคมในปัจจุบัน พ่อมีเวลาให้ลูกและครอบครัวน้อยลง พ่อควรมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น
สามารถเป็นภูมิคุ้มกันและปกป้องอันตรายต่าง ๆ ได้

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขในระดับชุมชน

การปลูกฝังศีลธรรม จริยธรรม ให้กับลูก พ่อจำเป็นต้องมีช่วงเวลาที่สื่อสัมพันธ์กับลูก เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก
ซึ่งความหนักแน่นของพ่อจะทำให้ลูกเชื่อมั่นและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม โดยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
จำเป็นต้องสอนตามวัยของลูก เช่น ลูกที่ยังเล็กควรให้ความใกล้ชิดมากเป็นพิเศษ ส่วนลูกวัยรุ่น
ก็ต้องกระตุ้นให้ลูกฝึกคิด รับผิดชอบ แก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยมีพ่อเป็นที่ปรึกษา รับฟัง เข้าใจ
และยอมรับในทุกเรื่อง ขณะที่ต้องสอนลูกให้รู้ทันสื่อสมัยใหม่ พ่อต้องใช้วิธีการพูดคุยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน
ใช้ สื่อร่วมกัน ซึ่งถ้าสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ สื่อสมัยใหม่จะเข้ามาในรูปแบบใดก็ตามจะไม่สามารถทำร้ายลูกได้ ถ้าได้ภูมิคุ้มกันที่ดีจากพ่อแล้ว
และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขในระดับประเทศ

เคล็ดลับ 5 ข้อ ในการเลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีความสุข คือ

1. พ่อต้องรักแม่ของลูก ต้องรักกันมีความผูกพันกัน เพราะความสุขของพ่อแม่จะทำให้ลูกมีความสุขตามไปด้วย
2. คลุกคลีใกล้ชิด พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เทคนิคการพูดคุยที่จะช่วยเพิ่มความเก่งให้กับลูก คือ
สนใจตอบคำถามของลูก ใช้คำถามเพื่อส่งเสริมให้ลูกคิด เช่น ทำไม อย่างไร
3. มีเวลาให้เมื่อลูกมีปัญหา คอยรับฟังและให้กำลังใจลูก
4. จัดหาประสบการณ์ที่หลากหลายให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ลูกจะได้ค้นพบตนเองว่าชอบอะไร ถนัดอะไร และ
5. อย่าสอนด้วยการสั่ง แต่ควรใช้การขอความเห็นหรือหารือเพื่อกระตุ้นให้ลูกคิดแก้ปัญหา โดยเฉพาะในคุณพ่อที่มีลูกวัยรุ่น
ลูก ควรเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้าน ทำตัวเป็นเพื่อน และถ่ายทอดประสบการณ์ในชีวิตพ่อให้ลูกฟังบนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี
และจูงใจให้ลูกคิดตามโดยไม่ยัดเยียด สิ่งสำคัญ คือ ต้องยอมรับในตัวลูก มีเวลาใกล้ชิด และพูดคุยกันบ่อยๆ

ครอบครัว ถือ เป็นสถาบันที่สำคัญของสังคมไทย การส่งเสริมให้ครอบครัวได้รู้จักสร้างความรักให้แก่กันทั้งทางกายและจิตใจ
จะเป็นพลังสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งมั่นคงต่อไป

คุณลักษณะของครอบครัวไทย และเด็กไทยที่พึ่งประสงค์

คุณลักษณะของเด็กและเยาวชนไทยที่พึงประสงค์

จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมายส่งตรงถึงตัวเด็ก มีผลกระทบต่อเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คุณลักษณะของเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์

1. มีสายใยผูกพันกับสมาชิกในครอบครัว

2. มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ เจริญเติบโตสมวัย มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมมั่นคง มีความเคารพ และภาคภูมิใจในตนเอง

3. มีวัฒนธรรมที่ดีงาม เข้าใจหลักการที่ถูกต้องของศาสนา สาระแก่นแท้ของชีวิต และคุณค่าภูมิปัญญา ของท้องถิ่น

4. มีความสามารถในการสื่อสารมากกว่า 1 ภาษา รู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเข้าใจถึงสาระประโยชน์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้อย่างกลมกลืนกับวัฒนธรรม

5. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีวินัย มีเหตุผล และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม

6. เข้าใจสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมทั้งเคารพสิทธิของผู้อื่น

7. รู้จักคิด ไม่งมงาย และรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเอง ตลอดจนเห็นคุณค่าของพลังงาน และการประหยัดพลังงานทุกประเภท

8. มีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เป็นผู้ผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคม รู้จักสร้างงานและอาชีพอิสระที่มีระบอบ การจัดการที่ดี

9. รับผิดชอบในการรักษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

10. รู้จักปรับเปลี่ยนแนวคิด และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาน้ำท่วม

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตมรสุม นอกจากฝนที่ได้รับอิทธิพลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 1,400 มม.
แล้วยังมีฝนที่มาจากพายุโซนร้อน และดีเปรสชั่น ฝนที่ตกหนักในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เกิด น้ำท่วมขังชั่วคราว
ปริมาณน้ำท่าจากทางเหนือที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร ในปีที่น้ำน้อยจะประมาณ 1,000 - 2,000 ลบ.ม./วินาที ส่วนในปีที่น้ำมากจะประมาณ
4,000 - 5,000 ลบ.ม./วินาที ในขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสามารถในการลำเลียงน้ำได้โดยไมล้นตลิ่งประมาณ 2,000 - 3,000
ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำที่มากกว่าความสามารถในการลำเลียงของแม่น้ำเป็นเหตุให้ เกิดน้ำท่วมบริเวณริมแม่น้ำ
ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้ำพระยาขึ้นอยู่กับอิทธิพลการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ซึ่งสามารถหนุนได้สูงถึง 2.1 ม.รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
ถ้าน้ำทะเลหนุนในช่วงระยะเวลาเดียวกับน้ำเหนือไหลผ่าน จะทำให้น้ำล้นท่วมตลิ่งได้ในฤดูน้ำหลาก
ลักษณะทางกายภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ชุมชนเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีปัญหาการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง เช่น ถมที่เพื่อการก่อสร้าง
การรุกล้ำคลองสาธารณะ ส่งผลให้เส้นทางลำเลียงน้ำลดลง ระบบระบายน้ำเดิมไม่สามารถรอง รับการขยายตัวของชุมชนได้ทัน
ปัญหาแผ่นดินทรุดเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล ทำให้พื้นที่ในกรุงเทพฯ เดิมซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่ำอยู่แล้วทรุดตัวลงมากกว่าเดิม เมื่อเกิดน้ำท่วมขัง
จึงยากที่จะระบายออกจากพื้นที่ได้
การกำเนิดปิโตรเลียม
เมื่อหลายล้านปี ทะเละต็มไปด้วยสัตว์ และพืชเล็ก ๆ จำพวกจุลินทรีย์ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจำนวนมหาศาล ก็จะตกลงสู่ก้นทะเล และถูกทับถมด้วยโคลน และทรายแม่น้ำ จะพัดพากรวดทราย และโคลนสู่ทะเล ปีละหลายแสนตัน ซึ่งกรวด ทราย และโคลน จะทับถมสัตว์ และพืชสลับทับซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา นับเป็นล้านปีการทับถมของชั้นตะกอนต่าง ๆ มากขึ้น จะหนานับร้อยฟุต ทำให้เพิ่มน้ำหนักความกดและบีบอัด จนทำให้ทราย และชั้นโคลน กลายเป็นหินทราย และหินดินดาน ตลอดจนเกิดกลั่นสลายตัว ของสัตว์ และพืชทะเล เป็นน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และก๊าญธรรมชาติ มีความเบา จะเคลื่อนย้าย ไปกักเก็บอยู่ในชั้นหินเนื้อพรุน เฉพาะบริเวณที่สูงของโครงสร้างแต่ละแห่ง และจะถูกกักไว้ด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ที่ปิดทับอยู่

นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่มีแนวความคิดว่า ปิโตรเลียมน่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากสารอินทรีย์ ทำให้การศึกษามุ่งหากำเนิดของน้ำมันที่เป็นแบบอย่างหรือตัวแทนของน้ำมันส่วนใหญ่ที่พบและผลิตในอุตสาหกรรม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแหล่งปิโตรเลียมส่วนใหญ่ในโลกมักมีความเกี่ยวข้องกับหินตะกอนที่สะสมในทะเล แต่ในประเทศไทยพบทั้งในหินตะกอนที่สะสมในทะเลและไม่ได้สะสมในทะเล เนื่องจากหินตะกอนจะมีส่วนประกอบของสารอินทรีย์มากกว่าหินประเภทอื่นๆ พวกสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทจะมีสารอินทรีย์แตกต่างกันเช่น

Marine&Lacustrine Plankton ประกอบด้วย โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ถึง 50% และ Lipid 25%
Bacteria ประกอบด้วย โปรตีนและ Lipids
Landplant ประกอบด้วย Cellulose, Lignin, Waxes, Resin และ Lipid เล็กน้อย
เมื่อสิ่งมีชีวิตสิ้นสภาพและถูกพัดพามาพร้อมกับตะกอนลงสู่แอ่งสะสมตะกอน บางส่วนของซากสิ่งมีชีวิตถูกทำลาย โดยขบวนการเติมออกซิเจน(Oxidation) บ้างก็ถูกทำลาย และเป็นอาหารจุลินทรีย์ ส่วนที่เหลือจะถูก preserved ได้ต้องอาศัยการตกทับถมอย่างรวดเร็วและลักษณะของตะกอนที่ปิดทับ ซึ่งต้องการสภาพแวดล้อมแบบไม่มีออกซิเจน(Reducing)

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

11.ไขมันและน้ำมันเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานๆ มีกลิ่นเหม็นหืน เนื่องจากสาเหตุใด
A.) ปฏิกิริยาเคมีไฮโดรลิซิล
B.) ปฏิกิริยากับไฮโดรเจน
C.) ปฏิกิริยาคาร์บอน
D.) ปฏิกิริยาออกซิเดชัน

12.ไขมันและน้ำมันเป็นสารประกอบที่เรียกว่าอะไร
A.) ไฮดรอกซิล
B.) ไตรกลีเซอไรด์
C.) ไฮโดรลิซิล
D.) ไฮโอดีน

13.การที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิ่มตัวเรียกปฏิกิริยานี้ว่าปฏิกิริยาใด
A.) ปฏิกิริยาไฮโดรเจน
B.) ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน
C.) ปฏิกิริยาไฮโดรคาร์บอน
D.) ปฏิกิริยาไตรกลีเซอไรด์

14.สารคอเลสเทอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นวิตามินใด
A.) วิตามิน A
B.) วิตามิน A1
C.) วิตามิน B
D.) วิตามิน D

15.สภาพของเหลว ทำปฏิกิริยาโดยการเติมโฮโดรเจนจนกลาย เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีสภาพแข็งขึ้น เรียกว่าอะไร
A.) น้ำตาลทราย
B.) น้ำตาลปีบ
C.) เนยเทียม
D.) สบู่

16.จากข้อมูลต่อไปนี้
1. น้ำตาลไรโบส เบสอินทรีย์ และหมู่ฟอสเฟต
2. น้ำตาลดีออกซีไรโบส เบสอินทรีย์ และหมู่ฟอสเฟต
3. น้ำตาลเพนโทสกับนิวคลีโอไซต์
4. น้ำตาลเฮกโซสกับนิวคลีโอไซต์
กรดนิวคลิอิกมีสารชนิดใดเป็นองค์ประกอบ
A.) ข้อ 1 และ 2
B.) ข้อ 3 และ 4
C.) ข้อ 1, 2 และ 3
D.) ข้อ 2, 3 และ 4

17.เบสไทมีนของสายพอลินิวคลีโอไทด์สายหนึ่งจะยึดเหนี่ยวกับเบสของสายพอลินิวคลิโอไทด์อีกสายหนึ่งในเกลียวคู่ของ DNA ตรงตำแหน่งเบสชนิดใด
A.) ไซโตซีน
B.) กวานีน
C.) อะดินีน
D.) ยูราซีนู่

18.จงพิจารณาว่าข้อใดไม่ถูกต้อง
A.) RNA เป็นฟอสเฟตเอสเทอร์ของนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว
B.) เบสที่พบใน RNA คือ อะดินีน กวานีน ไซโตซีน ไทนีน และยูราซีน
C.) DNA พบในนิวเคลียสเท่านั้น ส่วน RNA พบในไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส
D.) RNA ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนที่ไปทำหน้าที่ต่างๆ

19.พอลินิวคลีโอไทด์เกิดจากนิวคลีโอไทด์มาเชื่อมต่อกันตรงตำแหน่งระหว่างสารใด
A.) น้ำตาลกับฟอสเฟต
B.) น้ำตาลกับน้ำตาล
C.) ฟอสเฟตกับเบส
D.) เบสกับเบส

20.พิจารณาข้อมูลที่กำหนดให้
1. ในนิวเคลียสของเซลล์จะพบแต่ DNA เท่านั้น
2. ในไซโทพลาสซึมจะพบแต่ RNA ไม่พบ DNA
3.RNA และ DNA ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
4. เกลียวคู่ของสาย DNA ยึดเหนี่ยวกันตรงเบสด้วยพันธะไฮโดรเจน
ข้อใดกล่าวถูกต้อง
A.) ข้อ 1 และ 2
B.) ข้อ 2 และ 4
C.) ข้อ 1, 2 และ 4
D.) ข้อ 2, 3 และ 4ู่

สาวชีวโมเลกุล

1. มนุษย์จะมีสุขภาพดีนั้น ภายในร่างกายต้องได้รับสารอาหารใดที่ถูกต้องที่สุด
ก. ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่
ข. คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และเกลือแร่
ค. โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน
ง. โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่

2. โปรตีนพบในอาหารประเภทใดมากที่สุด
ก. เนื้อสัตว์ ข. ผัก
ค. ผลไม้ ง. ข้าว

3. โปรตีนเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่เกิดจากการรวมตัวของกรดอะไร
ก. กรดพอลิเพปไทด์ ข. กรดอะมิโน
ค. กรดไดเพปไทด์ ง. กรดไลซีน

4. กรดอะมิโน 2 โมเลกุลเกิดปฏิกิริยารวมตัวกันจะได้สารประกอบที่เรียกว่าอะไร
ก. เวลีน ข. ไลซีน
ค. พอลิเพปไทด์ ง. ไดเพปไทด์

5. กรดอะมิโน 3 โมเลกุลทำปฏิกิริยารวมตัวกันจะได้สารประกอบอะไร
ก. พอลิเพปไทด์ ข. ไตรเพปไทด์
ค. ทรีโอนีน ง. ทริปโตเฟน

6. กรดอะมิโนหลายๆ โมเลกุลทำปฏิกิริยากันจนเกิดสายยาว จะได้สารประกอบซึ่ง
เรียกว่าอะไร
ก. อาร์จีนีน ข. เมไทโอนีน
ค. อีสติดีน ง. พอลิเพปไทด์

7. โครงสร้างที่แสดงลำดับกรดอะมิโนในสายเพปไทด์ คือโครงสร้างอะไร
ก. โครงสร้างปฐมภูมิ
ข. โครงสร้างโมเลกุล
ค. โครงสร้างไฮโดรเจน
ง. โครงสร้างไนโตรเจน

8. โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นโครงสร้างที่เกิดจากอะไร
ก. การยืดตัวของโครงสร้างปฐมภูมิ
ข. การรวมตัวของโครงสร้างปฐมภูมิ
ค. การขดหรือม้วนตัวของโครงสร้างโมเลกุล
ง. โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่

9. โครงสร้างตติยภูมิ เกิดจากอะไร
ก. โครงสร้างซูโครส
ข. โครงสร้างแบบโปรตีน
ค. โครงสร้างแบบเอนไซม์
ง. โครงสร้างเกลียวแอลฟา

10. การรวมตัวของหน่วยย่อยชนิดเดี่ยวหรือต่างชนิดกันของโครงสร้างตติยภูมิคืออะไร
ก. โครงสร้างซูโครส
ข. โครงสร้างปฐมภูมิ
ค. โครงสร้างจตุรภูมิ
ง. โครงสร้างทุติยภูมิ

11. สายพอลิเพปไทด์รวมทั้งม้วนพันกันและอัดแน่นเป็นก้อนกลม เรียกว่าอะไร
ก. โปรตีนขนส่ง ข. โปรตีนก้อนกลม
ค. โปรตีนเส้นใย ง. โปรตีนโครงสร้าง

12. สายพอลิเพปไทด์พันกันในลักษณะเหมือนเส้นใยสายยาวๆ เรียกว่าอะไร
ก. โปรตีนขนส่ง ข. โปรตีนก้อนกลม
ค. โปรตีนเส้นใย ง. โปรตีนโครงสร้าง

13. ไดแซ็กคาไรด์ เกิดจากการรวมตัวของมอนอแซ็กคาไรด์ กี่โมเลกุล
ก. 5 โมเลกุล ข. 3 โมเลกุล
ค. 2 โมเลกุล ง. 1 โมเลกุล

14. ไกลโคเจนซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในเซลล์ของสัตว์พบมากที่ใด
ก. สมองและหัวใจ ข. ตับและกล้ามเนื้อ
ค. หัวใจและตับ ง. กระเพาะอาหารและลำไส้

15. ลิพิดเป็นสารชีวโมเลกุลประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
ก. ธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน
ข. ธาตุไฮโดรเจน ธาตุออกซิเจน และธาตุไฮโดรไลซ์
ค. ธาตุคาร์โบไฮเดรต ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน
ง. ธาตุออกซิเจน ธาตุคาร์บอน และธาตุคาร์บอนไดออกไซด์

16. ไขมัน ถ้าเป็นของเหลวเรียกว่าอะไร
ก. น้ำไข ข. น้ำมัน
ค. เอทานอล ง. เฮกเซน

17. จำนวนพันธะคู่ที่เพิ่มขึ้นจะมีผลให้จุดหลอมเหลวเป็นเช่นไร
ก. ลดลง ข. เท่าเดิม
ค. เพิ่มขึ้น ง. ไม่เปลี่ยนแปลง

18. การเหม็นหืนเกิดจากอะไร
ก. คาร์บอน ข. ไนโตรเจน
ค. ไฮโดรเจน ง. ออกซิเจน

19. สารป้องกันการเหม็นหืนบางชนิดมีอยู่ตามธรรมชาติ คือสารใด
ก. วิตามินเอ ข. วิตามินบี
ค. วิตามินซี ง. วิตามินอี

20. ปฏิกิริยาการเกิดสบู่เรียกว่าอะไร
ก. ปฏิกิริยาการระเหิด
ข. ปฏิกิริยาการระเหย
ค. ปฏิกิริยาการรวมตัว
ง. ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน

21. ฟอสโฟลิพิดเป็นลิพิดที่ประกอบหมู่ด้วยอะไร
ก. ฟอสเฟต ข. กลีเซอรอล
ค. ฟอสโฟลิพิด ง. กรดไขมัน

22. เลซิตินพบมากในเนื้เยื่อของอะไร
ก. คนและพืช ข. พืชและสัตว์น้ำ
ค. คนและสัตว์ ง. วิตามินและเกลือแร่

23. อาหารที่มีสารเลซิตินสูง ได้แก่อะไรบ้าง
ก. ตับและไข่ ข. ผักและผลไม้
ค. ผลไม้และวิตามิน ง. วิตามินและเกลือแร่

24. คอเลสเทอรอล มักพบในอะไรมากที่สุด
ก. คน ข. สัตว์บก
ค. พืช ง. สัตว์น้ำ

25. การสังเคราะห์กรดน้ำดีเกิดขึ้นที่ไหน
ก. กระเพาะอาหาร ข. หัวใจ
ค. ตับ ง. ไต

26. คอร์ติซอล ทำหน้าที่อะไร
ก. ลดการสร้างของโปรตีน
ข. เพิ่มการสร้างของโปรตีน
ค. ชะลอการสร้างของโปรตีน
ง. เพิ่มระยะการสร้างของโปรตีน

27. ร่างกายสามารถสร้างกรดนิวคลีนิกได้จากกรดอะไร
ก. กรดอะมิโน ข. กรดฟอสเฟต
ค. กรดโฟลิพิด ง. กรดฟอสโฟลิด

28. กรดนิวคลีอิกอีกที่พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตมีกี่ชนิด
ก. 1 ชนิด ข. 2 ชนิด
ค. 3 ชนิด ง. 4 ชนิด

29. กรดนิวคลีอิกมีหน้าที่อะไร
ก. การถ่ายทอด ข. การจัดเก็บ
ค. การสังเคราะห์ ง. กาสืบทอดพันธุกรรม

30. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะมีคาร์บอน กี่อะตอม
ก. 2 อะตอม ข. 3 อะตอม
ค. 4 อะตอม ง. 5 อะตอม

สารฃีวโมเลกุล

หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีนคืออะไร

A. กรดไขมัน
B. กรดอะมิโน
C. โมโนแซ็คคาไรด์
D. ไดแซ็คคาไรด์


พันธะที่เชื่อมต่อระหว่างกรดอะมิโนในพอลิเพปไทด์คือพันธะใด

A. พันธะไกลโคซิดิก
B. พันธะไฮโดรเจน
C. พันธะเพปไทด์
D. พันธะอะมิโน


ข้อใดให้ความหมายของกรดอะมิโนที่จำเป็นได้ถูกต้อง

A. กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
B. กรดอะมิโนที่ร่างกายขาดไม่ได้
C. กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้
D. กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้


กรดอะมิโน 4 ชนิดรวมกันจะเกิดโปรตีนได้กี่ชนิด

A. 4 ชนิด
B. 8 ชนิด
C. 12 ชนิด
D. 24 ชนิด


กรดอะมิโน 4 ชนิดรวมกันจะเกิดพันธะเพปไทด์กี่ตำแหน่ง

A. 2 ตำแหน่ง
B. 3 ตำแหน่ง
C. 4 ตำแหน่ง
D. 5 ตำแหน่ง


สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบเป็นอย่างไร


A. สารละลายเบเนดิกต์ เกิดตะกอนสีแดงอิฐ
B. สารละลายเบเนดิกต์ เกิดสารสีม่วง
C. สารละลายไบยูเรต เกิดสารสีม่วง
D. สารละลายไบยูเรต เกิดตะกอนสีแดงอิฐ


กรดไขมันแบ่งเป็นกี่ประเภท

A. 2 ประเภท
B. 3 ประเภท
C. 4 ประเภท
D. 5 ประเภท


ข้อใดไม่ใช่ monosaccharide

A. glucose
B. fructose
C. galactose
D. lactose


ข้อใดคือ Disaccharide ที่เกิดจาก glucose + glucose


A. moltose
B. lactose
C. sucrose
D. fructose


พันธะที่เชื่อมต่อระหว่าง monosaccharide แต่ละโมเลกุล คือพันธะในข้อใด


A. พันธะไกลโคซิดิก
B. พันธะเพปไทด์
C. พันธะไฮโดรเจน
D. พันธะซัลไฟด์


น้ำตาลในข้อใดเป็นน้ำตาลนอนรีดิวซ์

A. moltose
B. fructose
C. sucrose
D. lacose


สารใดเมื่อต้มกับสารละลายเบเนดิกต์แล้วจะไม่เกิดตะกอนสีแดงอิฐ


A. galactose
B. sucrose
C. fructose
D. lactose


สารใดเมื่อทดสอบกับสารละลายไอโอดีนแล้วได้ตะกอนสีน้ำเงิน


A. แป้ง
B. เซลลูโลส
C. ไกลโคเจน
D. มอลโตส


สารใดเมื่อทดสอบกับสารละลายไบยูเรตแล้วเกิดสารสีม่วง

A. แป้ง
B. ไกลโคเจน
C. พอลิเพปไทด์
D. อะไมโลส
Q.24) DNA และ RNA


DNA และ RNA ประกอบด้วยองค์ประกอบกี่ส่วน อะไรบ้าง


A. 2 ส่วน คือ น้ำตาลเพนโตส และ อินทรีย์เบส
B. 3 ส่วน คือ น้ำตาลเพนโตส , อินทรีย์เบส และหมู่ฟอสเฟต
C. 3 ส่วน คือ น้ำตาลเฮกโซส , อินทรีย์เบส และหมู่ฟอสเฟต
D. 2 ส่วน คือ น้ำตาลเฮกโซส และ อินทรีย์เบส


ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ DNA และ RNA


A. DNA มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส
B. RNA ประกอบด้วยอินทรีย์เบสคือ A , U , C , G
C. DNA ประกอบด้วยอินทรีย์เบสคือ A , T , C , G
D. RNA มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส

ข้อสอบ

1 ) โลหะ A ทำปฏิกิริยากับกรดโดรคลอริก แต่ B และ C ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดโดรคลอริก เมื่อนำโลหะ B จุ่มลงในสารละลายที่มีไอออน ได้โลหะ C เกาะบนโลหะ B ข้อใดถูก
ก. ความสามารถในการสูญเสียอิเล็กตรอน A > B > C
ข. โลหะ C ช่วยป้องกนการผุกร่อนของโลหะ A ได้
ค. เมื่อต่อครึ่งเซลล์ และ เข้าด้วยกัน โลหะ C จะเป็นขั้วแคโทด
ง. เมื่อนำโลหะ A จุ่มลงในสารละลาย จะได้โลหะ B เกาะบนแท่งโลหะ A
1.ก, ข และ ง
2.ข, ค และ ง
3.ก, ค และ ง
4.ก, ข และ ค

2 ) การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี เมื่อใช้ตัวทำละลาย X สาร A B และ C มีค่า เท่ากับ 0.2 0.3 และ 0.6 ตามลำดับ แต่เมื่อใช้ตัวทำละลายผสมของ X และ Y ในอัตราส่วน 1 : 1 ปรากฏว่าค่า ของสาร A B และ C เท่ากับ 0.4 0.25 และ 0.35 ตามลำดับ ข้อสรุปในข้อใดสอดคล้องกับข้อมูล
1.สาร A ถูกดูดซับได้มากกว่าสาร B และสาร B ถูกดูดซับได้ดีกว่าสาร C
2.สาร A ถูกดูดซับได้ดีในตัวทำละลาย X ส่วนสาร B ถูกดูดซับได้ดีกว่าสาร C
3.การแยกสาร A B และ C ออกจากกันนั้น ใช้ตัวทำลาย X ได้ผลดีกว่าใช้ตัวทำละลายผสมของ X และ Y
4.ควรใช้ตัวทำละลาย Y แยกสาร A และ B ออกจากกัน แต่ไม่ควรใช้แยกสาร B และ C ออกจากกัน

3 ) ไนโตรกลีเซอรีน สลายตัวดังสมการ
(สมการยังไม่ดุล)
เกิดความร้อนมหาศาล ทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขยายตัวอย่างฉับพลัน จึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ถ้าเริ่มต้นด้วยไนโตรกลีเซอรีบ 45.4 g และปฏิกิริยานี้เกิดสมบูรณ์ จะเกิดแก๊ส และ รวมกันกี่ลูกบาศก์เดซิเมตร ที่ STP
1. 21.3
2. 22.4
3. 25.5
4. 30.6

4 ) น้ำมันระกำ (เมทิลซาลิซิเลต) เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างเมทานอลกับกรดซาลิซิลิก โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ

โดยปฏิกิริยานี้ มีร้อยละผลผลิตเท่ากับ 80 ถ้าใช้เมทานอล 30 g ทำปฏิกิริยากับกรดซาลิซิลิก 140 g จะได้น้ำมันระกำหนักกี่กรัม
1. 114.0
2. 123.4
3. 142.5
4. 154.2

5 ) สารละลายที่มี mol ใน 400 ผสมกับสารละลาย KOH pH = 12 ปริมาตร 600 ถ้าต้องการทำให้สารละลายผสมมี pH = 7 จะต้องเติมสารละลายในข้อใด
1. 0.20 ลงไปอีก 85
2. 0.20 ลงไปอีก 150
3. 0.20 ลงไปอีก 150
4. 0.20 ลงไปอีก 85

19 ) สังกะสีและกำมะถันทำปฏิกิริยาการเกิดซิงค์ซัลไฟด์ (ZnS) ซึ่งเป็นสารตัวหนึ่งที่ใช้ในสารเรืองแสงที่เคลือบผิวด้านของหลอดภาพโทรทัศน์ ถ้าให้สังกะสี 29.25 g ทำปฏิกิริยากับกำมะถัน 16.0 g เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์จะมีสารใดเหลือ และเหลือกี่กรัม
1. Zn, 3.25
2. Zn, 6.5
3. S, 0.8
4. S, 1.6

23 ) การเปรียบเทียบสมบัติของแก๊ส He และ ในข้อใดถูก
1. เมื่อมวลเท่ากัน จะมีปริมาตรเท่ากันที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
2. ที่อุณหภูมิเดียวกัน เมื่อมวลและปริมาตรเท่ากัน แก็ส จะมีความดันมากที่สุด
3. ที่อุณหภูมิเดียวกัน และความดันเดียวกัน แก๊สทั้ง 3 จะมีอัตราการแพร่เท่ากัน
4. เมื่อนำแก๊สผสมทั้ง 3 มาลดอุณหภูมิ แก๊ส จะควบแน่นเป็นลำดับสุดท้าย

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เเนวข้อสอบ

แก๊สไฮโดรเจนทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนที่ 200 C ความดัน 1 บรรยากาศ เกิดไอน้ำดังสมการ
2H2(g) + O2(g) O(g)
ข้อความใดผิด
1. เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาปริมาตรของแก๊สทั้งหมดจะลดลง
2. ปริมาตรของไอน้ำที่เกิดขึ้นเท่ากับปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจนที่ใช้
3. มวลของแก๊สไฮโดรเจนที่ทำปฏิกิริยาพอดีจะเป็นสองเท่าของแก๊สออกซิเจน
4. มวลของไอน้ำที่เกิดขึ้นเท่ากับผลรวมของมวลของแก๊สไฮโดรเจนและออกซิเจนที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน



การทดลองในข้อใดเป็นการรบกวนสมดุลของระบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
1.เติมน้ำตาลลงในน้ำเชื่อมอิ่มตัวที่มีผลึกน้ำตาลอยู่
2.กรองผลึกสารส้มออกจากสารละลายอิ่มตัว แล้วเลือกผลึกที่ดีใส่ไปใหม่
3.เติมผลึก NaCI ลงไปในสารละลาย CH3COOH (ในน้ำ)
4.เติมผลึก NH4CI ลงไปในสารละลาย NH3 (ในน้ำ)


ในปฏิกิริยาต่อไปนี้ I2 (s) + 2S2O2-3 (aq) 2I-(aq) +S4O62-(aq) (ดูเฉลย)
ก. I2(s) ถูกรีดิวซ์เป็น I-(aq) ข. I2(s) เป็นตัวรีดิวซ์
ค. S2O32-(aq) เป็นตัวออกซิไดส์ ง. เลขออกซิเดชันของกำมะถันไม่เปลี่ยนแปลง
จ.เลขออกซิเดของออกซิเจนเปลี่ยนไป
ข้อใดถูก
1. ก เท่านั้น
2. ข และ ค
3. ก และ จ เท่านั้น
4. ก, ง และ จ


วิธีที่ดีที่สุดในการแยกโซเดียมคลอไรด์ออกจากของผสมที่มีแมกนีเซียมคลอไรด์อยู่ด้วยคือข้อใด(ดูเฉลย)
1. ละลายในตัวทำละลายแล้วกลั่น
2. ระเหิดแล้วหาจุดหลอมเหลว
3. เลือกตัวทำละลาย แล้วตกผลึกดำลับส่วน
4. ละลายใน Na2CO3 แล้วกรอง



แก๊สชนิดหนึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจน จากการทดลองพบว่ามวลโมเลกุลชนิดนี้มี
ค่าประมาณ 50 และมีปริมาณไนโตรเจนประมาณ 30% โดยมวลโมเลกุลของแก๊สชนิดนี้ประกอบ
ด้วยออกซิเจนกี่อะตอม
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4


จากการวิเคราะห์สารประกอบ Fe(SCN)3 .xH2O พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 19 โดย มวล
สารประกอบนี้มีกำมะถันร้อยละเท่าใด
1. 11.26
2. 22.53
3. 33.80
4. 45.07


. สมบัติของธาตุไฮโดเจนในข้อใดบ้างที่ไม่เหมาะสมกับการจัดธาตุนี้ไว้ในหมู่เดียวกับโลหะอัลคาไลน์(ดูเฉลย)
ก. จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน ข. ชนิดของสารประกอบและพันธะ
ค. จุดหลอมเหลวและจุดเดือด ค. พลังงานไอออไนเซชัน
1. ก , ง เท่านั้น
2. ข , ค เท่านั้น
3. ข , ค และ ง เท่านั้น
4. ก , ข , ค , และ ง


มีธาตุอยู่ 4 ชุดเรียงตามเลขอะตอม ธาตุชุดใดมีทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
1. 2 , 10 , 18 , 36 , 54 , 86
2. 3 , 11 , 19 , 37 , 55 , 87
3. 4 , 12 , 20 , 38 , 56 , 88
4. 9 , 17 , 35 , 53 , 85



สารประกอบของโลหะชนิดหนึ่ง ถ้ามีปริมาณค่อนข้างสูงจะมีพิษต่อสิ่งมีชีวิต จึงใช้ออกไซด์ของโลหะนี้
ทำยาฆ่าแมลงและฆ่าเชื้อรา เลือดของปู ปลาหมึก และหอยโข่งเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะ
นี้ร่างกายของคนเราก็ต้องการโลหะนี้เพื่อใช้ในกระบวนการทางชีวเคมีเฉพาะอย่าง ถ้าขาดธาตุนี้ทำให้เกิด
ความบกพร่องในการสังเคราะห์ไขมันบางชนิด และทำให้เกิดความบกพร่องในการดูดซึมธาตุอื่นอันอาจนำ
ไปสู่โรคโลหิตจางได้โลหะชนิดนี้เป็นโลหะชนิดใด(ดูเฉลย)
1. Zn
2. Fe
3. Cu
4. Cr


49. การถลุงแร่ในข้อใดที่มีลำดับขั้นตอนการถลุงดังต่อไปนี้(ดูเฉลย)
ก. ย่างแร่
ข. รีดิวซ์แร่ที่ย่างแล้วด้วย CO ในเตาถลุง
ค. โซเดียมคาร์บอเนตรวมตัวกับสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในเตาถลุงกลายเป็นกากตะกอนอยู่บนผิวโลหะเหลว
ง. ไขโลหะเหลวออกจากเตาลงเบ้าเหล็กเพื่อหล่อเป็นแท่ง
1. แร่สฟาเลอไรต์
2. แร่แคสซิเตอไรต์
3. แร่สติบไนต์
4. แร่เซอร์คอน
ข้อสอบเคมี
ครั้งที่ 2 /2542

มวลอะตอมที่กำหนดให้
H=1 C=12 N=14 O=16 S=32
CI= 35.5 Fe=56 Ag=108 Ba=137
ตอนที่ 1 ข้อ 1- 50 เป็นข้อสอบปรนัย
1. พิจารณาสมการ
A+2B C + 280 kJ (1)
2X + Y +150 kJ 3Z (2)
ถ้าระดับพลังงานของสารตั้งต้นในปฏิกิริยา (1) และ (2) เป็น 510 และ 340 kJ ตามลำดับ ระดับพลังงาน
ของผลิตภัณฑ์จาก 2 ปฏิกิริยานี้ มีค่าแตกต่างกันกี่กิโลจูล (ดูเฉลย)
1. 200 2. 260 3. 370 4. 490


2. A, B,C,D เป็นของเหลวบริสุทธิ์เมื่อนำ A มาผสมกับ B และ C ผสมกับ D พบว่าต่างก็ละลายเป็นเนื้อเดียวกันแต่เมื่อนำ C มาผสมกับ A ปรากฏว่าไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สาร A , B, C, D ในข้อใดเป็นไปไม่ได้(ดูเฉลย)
A B C D
1. H2O C2H5OH C6H6 CCl4
2. H2O CH3OH C6H6 C6H14
3. C6H6 CCl4 H2O C3H7OH
4. CCl 4 H2O C2H5OH C6H14



5. เปรียบเทียบสารละลายของน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) 10 g ในน้ำ 50g กับสารละลายของน้ำตาลทราย
(C12H22O11) 10g ในน้ำ 50g จะมีจุดเยือกแข็งต่างกันอย่างไร (Kfของน้ำ=1.86 C) (ดูเฉลย)
1. เท่ากัน เนื่องจากสารละลายเข้มข้นเท่ากัน
2. จุดเยือกแข็งของสารละลายกลูโคสต่ำกว่าของสารละลายน้ำตาลทรายประมาณ 1 C
3. จุดเยือกแข็งของสารละลายน้ำตาลทรายต่ำกว่าของสารละลายกลูโคสประมาณ 1 C
4. จุดเยือกแข็งของสารละลายกลูโคสจะต่ำกว่าของสารละลายน้ำตาลทรายประมาณเท่าตัว
เสมอ ไม่ว่าความเข้มข้นจะเป็นเท่าใด

Admission 2549

แก๊ส X ปริมาตร V1 และ ความดัน P1 ถ้าลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง แก๊สจะมีความดันเท่ากับ P2 แต่ถ้าลดปริมาตร
ลงเหลือ 1/6 ของปริมาตร V1 แก๊สจะมีความดันเท่ากับ P3 กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดที่อุณหภูมิ
และมวลของแก๊สคงที่ ความสัมพันธ์ระหว่าง P1 P2 และ P3 ในข้อใดถูกต้อง
ก. P1/P2 = P3/2 ค. P1 x P2 = P3/6
ข. P1/P3 = P2/6 ง. P1 x P3 = 3P2/2

การเปรียบเทียบสมบัติของแก๊ส He H2 และ CH4 ในข้อใดถูก
ก. เมื่อมวลเท่ากัน จะมีปริมาตรเท่ากันที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
ข. ที่อุณหภูมิเดียวกัน เมื่อมวลและปริมาตรเท่ากัน แก๊ส H2 จะมีความดันมากที่สุด
ค. ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แก๊สทั้ง 3 จะมีอัตราการแพร่เท่ากัน
ง. เมื่อนำแก๊สผสมทั้ง 3 มาลดอุณหภูมิ แก๊ส CH4 จะควบแน่นเป็นลำดับสุดท้าย

โลหะ A ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก แต่ B และ C ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เมื่อนำ
โลหะ B จุ่มลงในสารละลายที่มีไอออน C+ ได้โลหะ C เกาะบนโลหะ B ข้อใดถูก
1. ความสามารถในการสูญเสียอิเล็กตรอน A > B > C
2. โลหะ C ช่วยป้องกันการผุกร่อนของโลหะ A ได้
3. เมื่อต่อครึ่งเซลล์ B/B+ และ C/C+ เข้าด้วยกันโลหะ C จะเป็นขั้วแคโทด
4. เมื่อนำโลหะ A จุ่มลงในสารละลาย B+ จะได้โลหะ B เกาะบนแท่งโลหะ A
ก. 1 2 และ 4
ข. 2 3 และ 4
ค. 1 3 และ 4
ง. 1 2 และ 3

การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี เมื่อใช้ตัวทำละลาย X สาร A B และ C มีค่า Rf เท่ากับ 0.2 0.3 และ 0.6
ตามลำดับ แต่เมื่อใช้ตัวทำละลายผสมของ X และ Y ในอัตราส่วน 1 : 1 ปรากฏว่าค่า Rf ของสาร A B
และ C เท่ากับ 0.4 0.25 และ 0.35 ตามลำดับ ข้อสรุปในข้อใดสอดคล้องกับข้อมูล
ก. สาร A ถูกดูดซับได้มากกว่าสาร B และสาร B ถูกดูดซับได้ดีกว่าสาร C
ข. สาร A ถูกดูดซับได้ดีในตัวทำละลาย X ส่วน B และ C ถูกดูดซับได้ดีในตัวทำละลาย Y
ค. การแยกสาร A B และ C ออกจากกัน ใช้ตัวทำละลาย X ได้ผลดีกว่าใช้ตัวทำละลายผสมของ X และ Y
ง. ควรใช้ตัวทำละลาย Y แยกสาร A และ B ออกจากกัน แต่ไม่ควรใช้แยกสาร B และ C ออกจากกัน

สารละลายที่มี HNO3 4 x 10−2 mol ใน 400 cm3 ผสมกับสารละลาย KOH pH เท่ากับ 12 ปริมาตร
600 cm3 ถ้าต้องการทำให้สารละลายผสมมี pH เท่ากับ 7 จะต้องเติมสารละลายในข้อใด
ก. Ca(OH)2 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 85 cm3
ข. NaOH 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 150 cm3
ค. HCl 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 150 cm3
ง. H2SO4 0.20 mol/dm3 ลงไปอีก 85 cm3

สารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A มีสูตร ACl3 เป็นของเหลวที่ไม่ละลายน้ำ สมบัติของธาตุ A ข้อใดผิด
ก. สารประกอบออกไซด์ของธาตุ A มีสูตร A2O5
ข. สารประกอบออกไซด์ของธาตุ A ละลายน้ำได้สารละลายที่เป็นเบส
ค. พันธะระหว่างอะตอมของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A เป็นพันธะโคเวเลนต์
ง. ผลต่างระหว่าง IE5 และ IE6 ของธาตุ A มีค่ามากกว่าผลต่างระหว่าง IE อื่นสองระดับที่อยู่ติดกัน

นำกรดอินทรีย์ A มาทำปฏิกิริยาพอดีกับเอทานอล 9.2 กรัม ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเอสเทอร์ B 26 กรัม และน้ำ
จงหาจำนวนไอโซเมอร์ที่เป็นไปได้ของกรดอินทรีย์ A
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

ข้อใดถูก
1) การเกิดพันธะเคมีเป็นกระบวนการคายพลังงาน
2) โมเลกุลเกิดขึ้นเมื่ออะตอมอยู่ใกล้กันที่สุด
3) ในการเกิดพันธะเคมีจะมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งเสมอ
4) เมื่อสลายโมเลกุลเป็นอะตอมเดี่ยว พลังงานของอะตอมทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบรวมกันจะสูงกว่า
พลังงานของโมเลกุลเดิม
ก. 1 และ 3
ข. 1 และ 4
ค. 2 และ 3
ง. 2 และ 4

ข้อใดผิด
ก. แก๊สมีเทนเป็นสารตั้งต้นชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเตรียมปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตและปุ๋ยยูเรีย
ข. ขั้นตอนหนึ่งในการถลุงแร่คือการใช้ตัวรีดิวซ์ เช่น คาร์บอนในถ่านหินเปลี่ยนโลหะในสินแร่ให้เป็น
โลหะอิสระก่อนทำให้บริสุทธิ์ต่อไป
ค. การผลิตเซอร์โคเนียมใช้สารละลายผสมของกรดไฮโดรฟลูออริกและกรดซัลฟิวริกสกัดเซอร์โคเนียม
ออกจากสินแร่เซอร์คอนก่อน
ง. เรเดียมบริสุทธิ์ได้จากการแยกสลายสารประกอบเรเดียมแฮไลด์ด้วยไฟฟ้าโดยใช้ปรอทเป็นขั้วไฟฟ้า

ข้อสอบ Ent'

มวลอะตอม : H = 1 C = 12 O = 16
ธาตุ A B และ C มีจำนวนโปรตอน 7 12 และ 15 ตามลำดับ การเปรียบเทียบสมบัติของธาตุ A B และ C
ข้อใดถูก
ก. ขนาดอะตอม B > A > C
ข. จุดเดือด A > C > B
ค. ค่า EN A > C > B
ง. ค่า IE1 A > B > C
เฉลย ค


จากการทดลองศึกษาปฏิกิริยา A2(g) + 2B2(g) 2AB2(g) พบว่า
เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ความเข้มข้นของสาร B2 ลดลงครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อทำการทดลองอีกครั้งโดยเพิ่ม
ความเข้มข้นของ A2 เป็น 2 เท่าภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง สาร B2 ก็ยังคงลดไป
ครึ่งหนึ่งจากปริมาณเริ่มต้นเช่นกัน
พิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้
1. สาร A2 เป็นสารเชิงซ้อนกัมมันต์ของปฏิกริยา
2. สาร B2 จะหมดลงภายในเวลา 2 ชั่วโมง
3. ไม่ว่าจะเพิ่มสาร A2 เท่าไรก็ตาม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะคงเดิม
4. อัตราการเกิดปฏิกิริยานี้ขึ้นกับความเข้มข้นของสาร B2
ข้อใดถูก
ก. 1 และ 2 ข. 3 และ 4
ค. 1 และ 3 ง. 2 และ 4
เฉลย ข

X และ Y เป็นธาตุสมมติ สารประกอบของธาตุ X และ Y เกิดปฏิกิริยาในสารละลายเบส เขียนสมการ
ไออนิกได้ดังนี้
aXO4 (aq) + bYO3 (aq) cXO2(s) + dYO4 (aq)
เมื่อดุลสมการโดยใช้ครึ่งปฏิกิริยาแล้ว
ข้อสรุปใดผิด
ก. a + b = 5
ข. น้ำเป็นสารตั้งต้นและ OH− เป็นผลิตภัณฑ์
ค. XO4 เป็นตัวออกซิไดส์ และ YO3 เป็นตัวรีดิวซ์
ง. จำนวนอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องเท่ากับ 5
เฉลย ง

กำหนดค่า E0 ที่ 298 K ดังนี้
ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชัน E0(V)
A+(aq) + e− A(s) + 0.80
B3+(aq) + e− B2+(aq) + 0.77
C2(s) + 2e− 2C−(aq) + 0.54
D3+(aq) + 3e− D(s) −0.04
E2+(aq) + 2e− E(s) −0.13
ข้อสรุปใดถูก
ก. เซลล์ไฟฟ้าที่มีค่า E0 สูงที่สุด มีแผนภาพเซลล์ ดังนี้
A(s)/A+(aq, 1 mol/dm3)//E2+(aq, 1 mol/dm3)/E (s)
ข. เซลล์ที่มีแผนภาพเซลล์ ดังแสดง ให้กระแสไฟฟ้าได้
Pt(s)/B2+(aq, 1 mol/dm3),B3+(aq, 1 mol/dm3)//E2+ (aq, 1 mol/dm3)/E (s)
ค. ไม่ควรเก็บสารละลายที่มี D3+ ในภาชนะที่ทำด้วยโลหะ E
ง. D3+ สามารถออกซิไดส์ C− ให้กลายเป็น C2 ได้
เฉลย ค

สารประกอบใดที่ไม่มีไอโซเมอร์เรขาคณิต
ก. (CH3)2 C = C(CH3)2
ข. CH3CH = CHCH3
ค. CH3CH2CH = CHCH3
ง. CH3CH2CH = CHCH2CH3
เฉลย ก